โรคกระเพาะ เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อย ประมาณว่าคนทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยการเกิดแผลในกระเพาะมักจะพบในวัยกลางคน ในขณะที่การเกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นจะพบในวัยหนุ่มสาว อย่างไรก็ตามการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศและทุกวัย
สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะ
เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป งทำให้เกิดแผลขึ้น และพบว่าปัจจุบันก็ยังมีปัยจัยเสริมอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้อีก ได้แก่
การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori)
ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ผนังกระเพาะจึงอ่อนแอลงและมีความทนต่อกรดลดลง ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า และเกิดแผลซ้ำได้อีก
รับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้
เช่น ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาที่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น
การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง
เช่น การรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่เป็นเวลาหรืออดอาหารบางมื้อ เป็นต้น
การสูบบุหรี่
ก็สามารถเพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นได้เช่นกัน
อาการอื่นๆ
เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล คิดมาก นอนไม่หลับ เครียด อารมณ์หงุดหงิด พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่องป้องการการเกิดโรคกระเพาะ
- รับประทานอาหารอ่อนที่สามารถย่อยได้ง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ควรหลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ น้ำอัดลม อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ช็อคโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น
- งดการสูบบุหรี่ จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคกระเพาะ
- อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรมีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป
- ถ้าเกิดความเครียด พยายามลดความเครียด ด้วยการดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- หมั่นออกกำลังกาย
- รับประทานยาลดกรด ที่เป็นยาน้ำ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ หรือยาเม็ด 1 – 2 เม็ด (เคี้ยวก่อนกลืน) วันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็นหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน ในกรณีที่มีอาการปวดท้องก่อนเวลายาสามารถรับประทานเพิ่มได้และควรรับประทานยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 4 – 8 สัปดาห์
- ในกรณีที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน และรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ